[How to] Shipping Packing by Thailand Post : การส่งพัสดุไปต่างประเทศ โดยไปรษณีย์ไทย

การส่งพัสดุไปต่างประเทศ โดย ไปรษณีย์ไทย
ปกติเราจะใช้บริการสองชนิด คือ

1. Small Packet - Air + Register
    หรือ "พัสดุย่อยทางอากาศ+ลงทะเบียน"
    หรือ "Thailand Post Register"

2. EMS - Package





1. Small Packet - Air + Register หรือ "พัสดุย่อยทางอากาศ+ลงทะเบียน"

การส่งพัสดุประเภท พัสดุย่อยทางอากาศ มีกฎเกณฑ์ ดังนี้

- ถ้าใช้กล่องของไปรษณีย์ไทย ขนาดกล่องต้องไม่เกินขนาด "ฉ"
- นำ้หนักไม่เกิน 2kg (2000g)
- ห้ามติดเทปกาว เพราะการส่งพัสดุประเภทนี้ เราต้องติดใบ CN22
  หมายความว่า เรายินยอมให้ด่านศุลกากรเปิดกล่องตรวจสอบได้
  แต่ทางด่านศุลกากรจะสุ่มตรวจคะ เปิดตรวจทั้งหมดคงไม่ไหว
  และการที่กล่องของเราจะโดนสุ่มได้ ก็เกิดจากการที่เราเขียน
  ใบ CN22 ไม่ชัดเจน



CN22 คือ ใบศุลกากร (Customs Declaration)
สามารถขอได้ที่ไร้านปรษณีย์ได้เลยคะ ไม่ต้องซื้อนะคะ
ถ้าส่งเยอะๆ บ่อยๆ ขอมาไว้ทั้งเล่มเลยก็ได้คะ

การเขียนใบ CN22 
ปกติเราจะทำเครื่องหมายที่ "Gift"  เพราะง่ายต่อการผ่านด่านศุลกากรที่สุด
ปกติแล้ว ถ้าสิ่งของภายในกล่องเป็นสินค้าที่เกิดการซื้อขาย
และถ้าทางผู้ส่ง ทำเครื่องหมายว่าเป็น "สินค้า" ทางผู้ส่งจะไม่มีปัญหาอะไร 
แต่ทางผู้รับต้องเสียภาษีขาเข้าให้ประเทศของตัวเอง

ดังนั้นเวลาเราส่งพัสดุ เราจะเลือกที่ ช่อง Gift หรือถ้าเป็นตัวอย่างสินค้า 
เราจะเลือก Sample หรือถ้าเลือก Other ก็ได้คะ แต่จะเป็นการไม่ชัดเจน
ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งของข้างในเป็นอะไร ทำให้อาจจะถูกสุ่มเพื่อตรวจสอบได้

ช่องรายละเอียดของสิ่งของ ก็เขียนไปคะ 
ตัวอย่าง เราส่งกระเป๋ากระดาษ 3 ชิ้น 
เราก็เขียนว่า "Paper bag 3p"

พัสดุย่อยทางอากาศ เราควรเขียนราคาลงไปคะ เพื่อความชัดเจน
แต่ถ้าราคาสิ่งของนั้นเป็นราคาที่สูงมากๆ เราต้องเขียนราคาให้ถูกลง
เพราะเราก็ไม่รู้ว่า ประเทศของผู้รับสามารถนำเข้าสินค้าขั้นตำ่ได้ในราคาเท่าไร
อย่างประเทศไทยเราคือ ไม่เกิน 1000 บาท การเขียนราคาทำให้
ด่านศุลกากรเกิดความชัดเจน ว่าสิ่งของคืออะไร ราคาเท่าไร 
ทำให้ผ่านด่านได้ง่ายคะ

การที่เราเขียนแบบนี้ ทำให้ลูกค้า ไม่ต้องเสียภาษี และพัสดุส่งถึงบ้าน
โดยที่ไม่มีปัญหา หรือ ต้องไปรับที่ไปรษณีย์ ให้ยุ่งยาก 
และยังทำให้ลูกค้า รู้สึกดีกับเราด้วย

แต่ก็มีบางประเทศนะคะ ที่มีปัญหาเหมือนกัน อันนี้คือปัญหาของแต่ละ
ประเทศแล้วคะ ว่าเข้มงวดแค่ไหน
  
ระยะเวลาขนส่งใช้เวลา 2 - 3 สัปดาห์คะ

และตอนส่งของเราต้องบอกไปรษณีย์ด้วยว่า "ลงทะเบียน"ด้วยนะคะ
เพราะการลงทะเบียน เราจะได้รับ Tracking Number 
เพื่อนำมา ติดตามพัสดุได้คะ ค่าลงทะเบียน 65 บาท เป็นราคาตายตัว




 2. EMS - Package

EMS - Package
ส่งไม่บ่อยคะ ถ้าจะส่ง EMS ก็คือในกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้าเร็วขึ้น
เราจะแจ้งให้ลูกค้าทราบ และให้ลูกค้าจ่ายเงินค่าส่งเพิ่ม
หรือ เพราะสินค้ามีจำนวนมาก ทำให้นำ้หนักมากขึ้น จนกลายเป็นว่า
ค่าส่งแบบพัสดุย่อย ใกล้เคียงกับราคาของ EMS เราก็จะเลือก EMS ดีกว่า
เพราะเร็วกว่าด้วย หรือ พัสดุนั้นเกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งเกินนำ้หนักมาตรฐานของ
พัสดุย่อยทางอากาศ เราจึงต้องส่งแบบ EMS คะ

EMS ต้องติดเทปกาว หรือปิดกล่องให้มิดชิด และ ผูกเชือก ให้เรียบร้อย

ส่วนการหุ้มห่อภายในกล่องก็ต้องแล้วแต่สิ่งของนะคะ 
ว่าเป็นอะไร ของของเราเป็นกระเป๋ากระดาษ ไม่มีปัญหา
การแตกหัก แต่ไม่สามารถพับได้ถึงขนาดแบนและ
ใส่เป็นซองได้ เราจึงพับได้แค่พอดี และใส่กล่องคะ



การเขียนใบปะหน้าของ EMS ก็เหมือนกับ CN22 
เป็นการแสดงถึงรายละเอียดภายใน และชนิดของพัสดุ

แต่ระยะการขนส่งจะเร็วกว่าคะ EMS ใช้เวลา ประมาณ
1 สัปดาห์ และ ไม่ถูกสุ่มเปิดตรวจ

แต่เราก็ต้องทำเครื่องหมายที่ช่อง Gift หรือ Sample คะ
เพราะถ้าเรา ทำเครื่องหมายที่ช่อง Merchandise นั้นหมายความว่า
สิ่งของภายในคือ สินค้าที่เกิดการซื้อขาย จึงทำให้เกิดภาษี

การเขียนใบปะหน้า EMS ไม่ต้องเขียนราคาก็ได้คะ
และ ไม่มีค่าลงทะเบียน เพราะ EMS คือ ลงทะเบียน
อยู่แล้ว




การเลือกว่าจะส่งแบบพัสดุย่อย หรือ EMS

จากภาพด้านบน 

ตัวอย่าง ส่งจาก ไทย ไป ญี่ปุ่น
นำ้หนัก 300g
ถ้าส่งแบบ EMS ราคา 600 บาท
ถ้าส่งแบบ พัสดุย่อยทางอากาศ 124 บาท

ดังนั้น เราเลือกส่งเป็นแบบ พัสดุย่อยทางอากาศคะ
เพราะราคาถูกกว่า EMS มาก





จากภาพด้านบน
ส่งจาก ไทย ไป ญี่ปุ่น
นำ้หนัก 2000g

ถ้าส่งแบบ EMS ราคา 1050 บาท
ถ้าส่งแบบ พัสดุย่อยทางอากาศ 804 บาท

ดังนั้น เราจะเลือกส่งเป็นแบบ EMS คะ
เพราะ การส่งแบบพัสดุย่อย เราจะต้องเสีย
ค่าลงทะเบียน 65 บาท

ดังนั้น ค่าพัสดุย่อย 804 บาท บวก ค่าลงทะเบียน 65 บาท
เท่ากับ 869 บาท
ซึ่งต่างกับ EMS ที่มีราคา 1050 บาท แต่ลงทะเบียนอยู่แล้ว

ทำให้ราคา ต่างกัน 181 บาท เราจะเลือกส่งแบบ EMS ดีกว่า
ราคาต่างกันไม่มาก และเร็วกว่าด้วย




ทั้งหมดคือผลดีที่ลูกค้าได้รับคะ
ยิ่งเราทำให้ลูกค้ามีความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายได้
ลูกค้าก็จะรู้สึกดีกับเรา

แต่อย่างไรก็ตาม เราควรจะเขียนตามความจริงคือดีที่สุด
แต่ต้องถูกต้องเรื่องความเข้าใจด้วย

เช่น ถึงแม้ว่า สิ่งของภายในกล่องเป็นสินค้าก็จริง
แต่ผู้ส่ง ส่งให้ผู้รับ โดยไม่ได้มีการซื้อขาย เหมือนเพื่อนส่งให้เพื่อน
ผู้ส่ง ก็ต้องเขียนว่าเป็น Gift  เพราะถ้าเขียนว่าเป็น สินค้า
แถมเขียนราคามาด้วย ไปรษณีย์ จะเข้าใจว่า ของภายในกล่อง
เป็นสินค้าที่เกิดการซื้อขาย และนั้น หมายถึง ทำให้เกิดภาษีขาเข้า
และ ผู้รับต้องจ่ายภาษี






ไปรษณีย์ไทย
http://www.thailandpost.com



และ
หลังจากส่งของมาแล้วหลายกล่อง ตอนนี้ร้านเรามีการปรับเปลี่ยน
Packing นิดหน่อยคะ คือ กระเป๋าแบบไหนที่สามารถใส่เป็น
กล่องได้ก็ใส่กล่องเหมือนเดิม แบบไหนที่ใส่เป็นซองได้ก็ใส่เป็นซอง
และการ packing เป็นซองก็ไม่จำเป็น ต้องผูกเชือกนะคะ 
แต่ห้ามติดกาวเหมือนเดิม ก็เลยต้องแม๊กอย่างเดียว

ตัวอย่างการ Packing เพื่อส่งไปประเทศญี่ปุ่น โดยพัสดุย่อย +ลงทะเบียน
ปิดซองด้วยแม๊ก และ อย่างลืมติดไปปะหน้า CN22 (กระดาษใบสีเขียว)
ด้วยนะคะ เพราะแบบซองเราแม๊กแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องผูกเชือกคะ



ที่ได้มีโอกาสปรับเปลี่ยน packing ก็เพราะ Project maclutch on Makuake 
ต้องส่งของไปญี่ปุ่น เกือบ 30 ชิ้น และสินค้าเป็น Maclutch ลักษณะแบน
ใส่ซองได้ ก็เลยลองใส่ซองดู ทำให้ประหยัดค่าส่งได้มากทีเดียวคะ


[How to] Shipping cost to oversea : การตั้งราคา ค่าขนส่งพัสดุ ไปต่างประเทศ
http://belltastudio.blogspot.com/2015/08/how-to-shipping-cost-to-oversea.html




Writer : Bellta ^^
https://www.facebook.com/pennapa.shotlersuk

BelltaStudio
http://www.belltastudio.com


Thanks!

Labels: , ,